ผลการทบจากสถานการณ์ Covid-19
หลังจากนี้จะเป็นเนื้อหาจากการสัมภาษณ์คุณมิ้นที่ได้แชร์เรื่องราวดีๆ ให้กับเรา โดยคุณมิ้นเล่าว่า ตอน Covid-19 คลื่นลูกแรกเพิ่งเปิดร้านใหม่ๆ ตอนนั้นลูกค้าส่วนใหญ่จะเป็นนั่งทานที่ร้าน ประมาณ 90% ถึง 95% แล้วพอคลื่นลูกแรกมา ถูกล็อกดาวน์ก็ปิดร้านไปเลย เพราะว่าตอนนั้นยังไม่ได้เน้นเรื่อง delivery เท่าไหร่ แต่พอมาคลื่นลูกที่สอง ก็เปิดร้านขึ้นมาใหม่อีกรอบ แล้วพอคลื่อนที่สองก็เหมือนกับตั้งตัวได้ เหมือนกับรู้แล้วมันต้อง delivery อย่างเดียวอีกแล้ว ก็เริ่มปรับตัวมากขึ้น เริ่มมี delivery หลายช่องทางมากขึ้น แต่ตอนนั้นแรกๆ ใช้แต่พวก Grab กับ Food Panda ซึ่งก็โหดมาก เนื่องจากเรื่องของค่าคอมมิชชั่น เลยพยายามจะหาทางเลือกใหม่ๆ ว่าสามารถส่งเองได้ไหม ตอนแรกก็ทำเองเหมือนกัน คือให้ลูกค้าสั่งทางช่องทาง LINE โดยการพิมพ์มาสั่ง เราก็เจอปัญหาว่าลูกค้าของเราเป็นต่างชาติค่อนข้างเยอะ พนักงานก็ใช้ภาษาอังกฤษไม่ค่อยคล่อง ดังนั้นเวลาพิมพ์โต้ตอบก็ค่อนข้างเหนื่อยหน่อย เพราะว่ามีหลายครั้งที่เขาไม่เข้าใจว่าลูกค้าต้องการอะไร ต้องก็โทรมาหาว่า พี่มิ้นคะอันนี้แปลว่าอะไรหนูไม่เข้าใจ เลยพยายามหาช่องทางที่ลูกค้าสามารถกดสั่งเองและเป็นแพลตฟอร์มภาษาอังกฤษ ลูกค้ากดสั่งโดยไม่ต้องผ่านพนักงานที่ร้าน ให้มีความสะดวกสบายมากขึ้น พนักงานจะได้ทำงานได้ไวขึ้น
พอดีไปเจอ Hato Hub ก็เลยสนใจ เลยนำเข้ามาใช้งาน พอเปลี่ยนมาใช้ Hato Hub ก็ทำให้ลูกค้าส่วนหนึ่งที่เขาเคยสั่ง Grab สั่ง Panda ก็หันมาสั่งทาง Hato Hub ก็ค่อยๆ โปรโมทและเพิ่มฐานลูกค้าของ Hato Hub ขึ้นมาเรื่อยๆ
อะไรที่ทำให้สนใจ Hato Hub ตั้งแต่ครั้งแรกเลย?
รู้สึกสนใจ User interface ตอนนั้นไปเจอร้านหนึ่ง รู้สึกว่าจะเป็นร้าน SeeFah (สีฟ้า) ที่ใช้งาน Hato Hub อยู่ รู้สึกใช้งานง่าย หน้าตาดูดี และใช้งานไม่ได้ยากมากตอนนั้น รู้สึกว่าน่าสนใจก็เลยติดต่อเขาไป เคยเห็นระบบของเจ้าอื่นเหมือนกัน ก็พยายามดูแล้วยังตะหงิดนิดนึง แต่พอดีเห็น Hato Hub อันนี้น่าสนใจที่สุดแล้ว
หลังจากใช้ Hato Hub ยอดขายส่วนของ Delivery เป็นอย่างไรบ้าง?
เริ่มใช้ Hato Hub เมื่อประมาณปีที่แล้ว (พ.ศ.2564) ตอนช่วงแรกๆ เป็นช่วงที่มีมาตรการห้ามรับประทานในร้านเลย อันนั้นค่อนข้างเห็นพอสมควร เพราะว่าลูกค้าไม่สามารถมาทานในร้านได้ ลูกค้าขี้เกียจมาหน้าร้าน ถ้าเกิดบ้านอยู่ไกล ก็จะเยอะมากประมาณ 80-90% ได้ของยอดขาย ช่วงแรกๆ นั้นในส่วนของ Hato Hub น่าจะประมาณ 10-20% ได้อยู่ (ช่วงแรกๆ นะคะ) แต่ว่าพอรัฐบาลเริ่มปล่อยให้คนทานภายในร้านมากขึ้น คนที่เคยสั่ง Hato Hub ก็กลับมากินหน้าร้าน ดังนั้นยอดของ Hato Hub ก็จะลดลงไปบ้างส่วนหนึ่ง
สิ่งที่ชอบมากที่สุดในตัว Hato Hub
ขอบในตัวของ User Interface เพราะค่อนข้างใช้งานง่ายเวลาลูกค้ากดเข้ามาใช้ แล้วก็อีกส่วนหนึ่งในฐานะเป็นคนอยู่ฝั่งคนขายก็ชอบที่เวลามีปัญหาอะไร Hato Hub ค่อนข้างรับไปแก้ทันที ไม่ใช่ว่าติดต่อไม่ได้ จะมีคนช่วยตอบตลอดเวลา ซึ่งก็ชอบตรงนี้มาก นอกจากนี้แล้วชอบตรงที่ระบบเรียกรถให้ด้วย ไม่ต้องเรียกรถให้ลูกค้าเอง เพราะสมัยตอนที่ลูกค้าแชทมาเอง ก็ค่อนข้างมีปัญหาเรื่องนี้อยู่พอสมควร เช่นปักหมุดผิดบ้าง ลูกค้าพิมพ์ผิดบ้าง เข้าใจสื่อสารผิดจุดบ้าง ก็ทำให้มี error ตอนส่ง ค่อนข้างบ่อยเหมือนกัน
หลังจากที่ใช้ Hato Hub แล้วพฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง?
ถึงแม้ว่าร้านจะเปิด dine in แล้ว แต่เนื่องจากโควิดทำให้คนติดสั่งกลับบ้าน Delivery ก็ยังเยอะอยู่ ทำให้คนส่วนหนึ่งที่ใช้ Grab ติดใจ Grab ที่มีโปรโมชั่นมีอะไรผูกไว้ อันนี้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม และ Hato Hub ยังมีลูกค้าฐานเหมือนเดิมเหมือนกัน ก็คนที่เคยมาสั่งแล้วติดใจที่ว่าสั่งอะไรใน Hato Hub ก็เร็วเหมือนกัน ไม่ได้สั่งช้าไม่ได้สั่งยาก ก็ยังสั่งเหมือนเดิม ก็จะมีลูกค้าประจำอยู่แต่จะมีบางคนที่หายไปเหมือนกันที่บอกว่าพอเปิด dine in แล้วก็กลับมาหาที่ร้านอาหารของร้อนๆใหม่ๆ แต่คนก็ยังสั่ง delivery มากขึ้นเยอะกว่าตอนโควิดอยู่ดี ซึ่ง Hato Hub ก็ยังคงสัดส่วนระดับหนึ่งได้อยู่
ขอขอบคุณคุณเอสรา สดุดีวงศ์ (คุณมิ้น) เจ้าของร้าน Beast & Butter ที่ได้มาแชร์ประสบการณ์ในวิกฤต Covid-19 และแชร์ประสบการณ์ดีๆ ในการใช้ระบบสั่งอาหารออนไลน์ Hato Hub ในการปรับตัวจากทานที่ร้านมาเป็น Delivery หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการหลายๆ ท่านที่กำลังเริ่มมาทำ Delivery สำหรับร้านอาหารไม่มากก็น้อย